Lean in toilet - ห้องน้ำแบบลีน
เชื่อหรือไม่ ? ห้องน้ำก็ทำลีนได้
คนเราเข้าห้องน้ำทุกวัน วันละหลาย ๆ รอบ แต่คุณรู้หรือไม่ ว่าที่ห้องน้ำก็มีความสูญเปล่า หรือ Waste ด้วย
ขอยกตัวอย่างห้องน้ำในห้าง
โดยทั่วไปเราจะพบเห็นการวางผังห้องน้ำตามรูปที่ 1 คือ มีกระดาษชำระ สายฉีดชำระ และถังขยะ โดยอาจตั้งสลับซ้าย – ขวา ต่างจากรูป ดูผ่าน ๆ
ก็เหมือน ๆ ห้องน้ำปกติทั่วไป แล้วมีความสูญเปล่าอะไร
รูปที่ 1 ห้องน้ำทั่วไป
ลองนึกถึงตอนที่เราใช้ห้องน้ำกันค่ะ
เราหยิบสายฉีดชำระล้าง แล้วตามด้วยกระดาษชำระ
จากนั้นก็ทิ้งกระดาษที่ใช้แล้วลงในถังขยะ ซึ่งอยู่ด้านใน
ตอนทิ้งนั้นเรานั่งอยู่บนส้วม ดังนั้นต้องเอี้ยวตัว
เพื่อนำกระดาษไปทิ้งให้ลงถังให้ได้ เกิดเป็นความเคลื่อนไหวที่ยากลำบาก
หรือผิดหลักการยศาสตร์ (Ergonomics) นั่นคือ
ความสูญเปล่าจากการเคลื่อนไหว หรือ Motion Waste นั่นเอง แต่ที่แย่ไปกว่านี้คือ ถังขยะที่มีฝาปิดแล้วต้องใช้เท้าเหยียบเพื่อให้ฝาถังเปิด
ลองนึกดูเถอะ นั่งอยู่จะทำท่านั้นได้อย่างไร เรียกได้ว่า ท่ายากจริง ๆ
การวางผังแบบลีนนั้นจะคำนึงถึงการใช้งานของผู้ใช้เป็นหลัก
(Point of use) ตามอุปกรณ์ต่าง
ๆ ได้แก่ สายฉีด และ กระดาษ หากคำนึงถึงท่าทางในการเคลื่อนไหวที่เหมาะสมของผู้ใช้งานจริง
ๆ คือ คนส่วนใหญ่ถนัดขวา เวลาใช้สายฉีดจะใช้มือขวาจับ ซึ่งก็ไม่ควรอยู่ด้านหลังทางขวามือ
แต่ควรติดอยู่ที่ผนังด้านขวามือในระดับที่หยิบใช้ได้สะดวก
กระดาษชำระนั้นอยู่ด้านซ้าย เพราะใช้มือซ้ายเช็ดก้น ส่วนถังขยะก็อยู่ด้ายซ้าย
บริเวณแนวเดียวกับกระดาษ
เช็ดเสร็จก็ทิ้งเลยไม่ต้องเปลี่ยนมือหรือเอื้อมหรือเอี้ยวตัว ตามรูปที่ 2
รูปที่ 2 ห้องน้ำแบบลีน
ลองมาดูชีวิตจริง
ห้องน้ำในห้างบ้านเรา ส่วนใหญ่เป็นแบบที่ 1 คือ
แบบทั่วไป วางผังเพื่อให้ดูเรียบร้อยสะดวกต่อแม่บ้าน แต่ไม่คำนึงถึงผู้ใช้งาน
รูปที่ 3 ห้องน้ำสาธารณะที่ญี่ปุ่น
รูปที่ 3 เป็นห้องน้ำที่ญี่ปุ่นที่ให้เราทิ้งกระดาษลงในส้วมได้เลย
นอกจากนี้ รูปที่ 4 ก็เป็นห้องน้ำที่ญี่ปุ่นเช่นกัน
ป้ายกลม ๆ สีแดงที่อยูด้านบนของประตูห้องน้ำ แสดงให้เห็นถึงการใช้งานอยู่ หรือ
ไม่ว่าง หรือ Occupied นั่นเอง
ผู้ใช้งานอย่างเรา เมื่อเดินเข้าไปถึงห้องน้ำก็ไม่ต้องเสียเวลาหาดูว่า ห้องไหนว่าง
หรือ ไม่ว่าง นั่นเอง ลดความสูญเปล่าจากกระบวนการที่ไม่จำเป็น (Over
Processing) ออกไป
รูปที่ 4 ห้องน้ำที่ญี่ปุ่นแบบมีสัญลักษณ์ใช้งานบอก
หลักการลีนสามารถนำมาใช้ได้ทุกที่ ทุกอุตสาหกรรม ทุกสถานการณ์ ขอแค่เพียง “เข้าใจ” ก็สามารถนำมาประยุกต์ใช้ให้กระบวนการมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ด้วยการทำให้กระบวนการไหลอย่างต่อเนื่อง (Flow) ไม่สะดุด โดยมองด้วยมุมมองของลูกค้า (Customer Focus) ที่ใช้งาน (Point of use) ตามความต้องการของลูกค้า แล้วมองหาความสูญเปล่าและกำจัดออกไปจากกระบวนการ
รูปสุดท้าย เป็นห้องน้ำในห้องบ้านเรา ที่มีการวางผังแบบลีนเพียงไม่กี่ห้าง
ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาดูคลิปนะคะ
ท่านสามารถอ่านบทความและดูตัวอย่างเพิ่มเติม เกี่ยวกับลีน ได้ฟรี!
ที่ Facebook
Page Dr. Lean - หมอลีน
และ Youtube : https://youtu.be/sb19XsqRtMg
No comments: