EP.3/10 - การคำนวณหาค่า OEE = AE x PE x QE | Dr. Lean - หมอลีน New Gen
ความสูญเสียทั้ง 8 ประการ เป็นสิ่งที่ทำให้ประสิทธิผลของเครื่องจักรลดลง ส่งผลค่า AE, PE, QE หรือ ความพร้อมของเครื่องจักร, สมรรถนะ และคุณภาพของงาน ตามลำดับ ซึ่งในคลิปนี้เราจะมาคำนวณหาค่า OEE กันค่ะ
เริ่มต้นจากเวลาทั้งหมดที่มีเรียกว่าเวลาภาระงานหรือเวลาที่มีการผลิตเราจะใช้ทับศัพท์ภาษาอังกฤษไปเลย เรียกว่า Load time เป็นเวลาที่ต้องการใช้เครื่องจักร ดังนั้นก็คาดหวังว่าเครื่องจะพร้อมให้ใช้งาน แต่หากเครื่องหยุดจากความสูญเสียทั้ง 4 อย่างใน Stop loss ได้แก่
1. Failure loss ความสูญเสียจากเครื่องพังเครื่องเสีย
2. Set up and adjustment loss ความสูญเสียจากการเปลี่ยนรุ่นการผลิตและปรับตั้งเครื่องจักร
3. Cutting blade change loss ความสูญเสียจากการเปลี่ยนใบมีดหรือชิ้นส่วนวัสดุสิ้นเปลืองต่างๆที่มีอายุการใช้งานจำกัด เช่น ยางรถยนตร์ และแบตเตอรี่
4. Start up loss ความสูญเสียจากการเริ่มทำการผลิตและทดลองเครื่อง เช่น วอร์มเครื่อง
ที่เป็นความสูญเสียจากการหยุดเครื่อง ก็จะทำให้ความพร้อมของเครื่องจักรลดลง
ดังนั้น AE = (Load time - Stop time)/Load time x100%
Load time - Stop time ก็คือเวลาที่เครื่องจักรพร้อมใช้งานจริงๆ เรียกเวลานี้ว่า Operating time หรือบางที่ก็เรียกว่า Up time หมายถึงเวลาเดินเครื่องนั่นเอง ถึงกระนั้นก็ยังมีความสูญเสียเกิดขึ้นขณะที่เครื่องจักรทำงาน คือ
1. Idling loss ความสูญเสียจากการหยุดเล็กน้อยและการเดินเครื่องเปล่า เช่น จอดรอคน จอดรองาน
2. Speed loss ความสูญเสียจากความเร็วที่ไม่ได้มาตรฐาน เช่น ขับช้ากว่าที่เครื่องยนต์ทำได้ เรียกความสูญเสียเหล่านี้ว่า Performance loss คือ ความสูญเสียจากการใช้เครื่องจักรไม่เต็มที่ ทำให้สมรรถนะของเครื่องจากลดลง
ดังนั้นค่า PE จึงมาจาก OE x RE
OE หรือ Operating Effectiveness หมายถึงประสิทธิผลของการดำเนินงาน
หาได้จาก OE = (Operating time - Idling time)/Operating time x 100%
ซึ่ง Operating time - Idling time เท่ากับ Net Operating time หรือเวลาเดินเครื่องสุทธิ
ดังนั้น OE = (Net Operating time)/Operating time x 100%
ส่วน RE หรือ Rate Effectiveness คือประสิทธิผลด้านอัตราเร็ว
ดังนั้น RE = Standard Cycle Time x Input / Net Operating time
คือเอาเวลามาตรฐานมาเทียบกับเวลาเดินเครื่องสุทธิที่ใช้จริง
สมมติว่า …
กรณีที่ 1 มีการปรับ Actual Cycle Time เร็วกว่า Standard Cycle Time สิ่งที่เกิดขึ้นคือ จะได้ Input เยอะ ทำให้สมการด้านบน คือ เวลาผลิตตามมาตรฐาน มีค่ามากกว่าด้านล่าง หรือ เวลาเดินเครื่องสุทธิที่ใช้จริง เมื่อหารกันออกมาจะได้ค่าเกิน 100% เพราะเร็วกว่ามาตรฐาน
ในทางกลับกัน กรณีที่ 2 ถ้าปรับ Actual Cycle Time ช้ากว่า Standard Cycle Time สิ่งที่เกิดขึ้น คือ จะได้ Input น้อยกว่าที่ควรจะเป็น ทำให้สมการด้านบน หรือ เวลาผลิตตามมาตรฐาน มีค่าต่ำกว่าด้านล่าง หรือ เวลาเดินเครื่องสุทธิที่ใช้จริง เมื่อหารกันออกมาจะได้ค่าต่ำกว่า 100% เพราะทำไม่ถึงมาตรฐาน
ดังนั้น เมื่อ PE = OE x RE จะได้
PE = (Net Operating time)/Operating time x Standard Cycle Time x Input / Net Operating time
จะได้ PE = Standard Cycle Time x Input / Operating time นั่นเอง
Net operating time คือ เวลาเดินเครื่องสุทธิ เป็นเวลาที่มีการผลิตจริงๆ คือมีการโหลด Input เข้าไปในเครื่องให้ทำการผลิตออกมาเป็น Output โดยคาดหวังว่าเครื่องจะผลิตแต่งานดีมีคุณภาพออกมา
ดังนั้น QE = Output/Input x100%
สรุปอีกที
AE = (Load time - Stop time)/Load time x100%
PE = Standard Cycle Time x Input / Operating time x100%
QE = Output/Input x100%
เมื่อได้ครบทั้ง 3 ส่วนแล้วคือ AE, PE และ QE การหาค่า OEE ก็คือนำ 3 ส่วนนี้มาคูณกัน จะทำให้ได้ค่าชี้วัดประสิทธิผลโดยรวมของเครื่องจักร Overall Equipment Effectiveness
คลิปหน้าลองมาทำตัวอย่างการคำนวณหาค่า OEE จากสูตรนี้กันค่ะ
ติดตามชมได้ในคลิป => https://youtu.be/DAKWCP_n1c4
ด้วยรัก
Dr. Lean - หมอลีน
ติดตามได้ที่ YouTube channel 🎦 https://www.youtube.com/channel/UCUlA0PYbL7ciD460dTkdorg
หรือที่เพจ Dr. Lean - หมอลีน ➡️ https://facebook.com/drleanmolean
No comments: