หาสาเหตุที่แท้จริงของปัญหาด้วย 4M1E และ Why-Why
4M1E จะถูกกล่าวถึงเสมอเวลาที่ทำผังก้างปลา (Fishbone Diagram) ซึ่งเป็นก้างหลักของปัญหานั่นเอง ได้แก่
☑️Man คน
☑️Method วิธีการ
☑️Machine เครื่องจักร
☑️Material วัสดุ
☑️Environment สภาพแวดล้อม
☑️Method วิธีการ
☑️Machine เครื่องจักร
☑️Material วัสดุ
☑️Environment สภาพแวดล้อม
วันนี้บอลไปเปลี่ยนยางรถยนต์มาค่ะเพราะว่ายางรั่ว
ระหว่างที่รอเปลี่ยนยาง ช่างมาแจ้งอาการเพิ่มเติมว่าพบ #โช๊คแตก
#อีกแล้ว! #โช๊คแตก ปัญหานี้ไม่ได้เกิดขึ้นครั้งแรก แต่เกิดขึ้นทุกครั้งที่บอลมาเปลี่ยนยาง, เช็คช่วงล่าง หรือ ถ่วงล้อ
ระหว่างที่รอเปลี่ยนยาง ช่างมาแจ้งอาการเพิ่มเติมว่าพบ #โช๊คแตก
#อีกแล้ว! #โช๊คแตก ปัญหานี้ไม่ได้เกิดขึ้นครั้งแรก แต่เกิดขึ้นทุกครั้งที่บอลมาเปลี่ยนยาง, เช็คช่วงล่าง หรือ ถ่วงล้อ
ล่าสุดเพิ่งเปลี่ยนโช๊คใหม่ เมื่อตอนเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา หรือ เมื่อประมาณ 5 เดือนที่แล้วนี้เองค่ะ
ปัญหานี้เกิดขึ้นซ้ำๆ แม้ว่าจะเปลี่ยนโช๊คใหม่แล้วก็ยังเกิดซ้ำอีก แสดงว่าปัญหาไม่ได้มาจาก Machine และ Material แน่นอน เพราะเมื่อก่อนนี้บอลขับ #รถกระบะ ค่ะ
ใช่ค่ะ! ขนาดขับกระบะก็ยัง #โช๊คแตก
ใช่ค่ะ! ขนาดขับกระบะก็ยัง #โช๊คแตก
ตอนนี้เปลี่ยนมาขับรถเก๋งแล้วเท่ากับการเปลี่ยน Machine โช๊คก็ยังแตกเหมือนเดิม แสดงว่าสาเหตุไม่ได้อยู่ที่ Machine
เมื่อทำการเปลี่ยนโช๊คใหม่แล้วถึง 2 ครั้งปัญหาก็ยังเกิดซ้ำอีกแสดงว่าสาเหตุไม่ได้มาจาก Material ของตัวโช๊ค
สุดท้ายก็เหลือแค่ Man - Method ค่ะ สิ่งเดียวที่ยังไม่เปลี่ยนคือตัวคนขับและวิธีการขับของบอล
เอาล่ะค่ะ ในส่วนนี้ คือ #ส่วนสำคัญ
ถ้าสาเหตุของปัญหาอยู่ที่ Man
การแก้ไขปัญหาไม่ใช่ #เปลี่ยนคนขับ
แต่ต้องเปลี่ยนที่ #วิธีการ
ถ้าสาเหตุของปัญหาอยู่ที่ Man
การแก้ไขปัญหาไม่ใช่ #เปลี่ยนคนขับ
แต่ต้องเปลี่ยนที่ #วิธีการ
ดังนั้นสำหรับปัญหาโช๊คแตกนี้
ลองมาใช้ Why - Why ในการถามจนกว่าจะเจอต้นตอของสาเหตุของปัญหากันค่ะ
ลองมาใช้ Why - Why ในการถามจนกว่าจะเจอต้นตอของสาเหตุของปัญหากันค่ะ
1. ทำไมโช๊คถึงแตก -> เพราะเกิดจากการกระแทกระหว่างล้อกับตัวรถ
2. ทำไมถึงเกิดการกระแทกระหว่างล้อกับตัวรถ -> เมื่อขับผ่านหลุมหรือเนินด้วยความเร็ว
3. ทำไมถึงขับผ่านหลุมหรือเนินด้วยความเร็ว -> ไม่ชะลอหรือลดความเร็ว
2. ทำไมถึงเกิดการกระแทกระหว่างล้อกับตัวรถ -> เมื่อขับผ่านหลุมหรือเนินด้วยความเร็ว
3. ทำไมถึงขับผ่านหลุมหรือเนินด้วยความเร็ว -> ไม่ชะลอหรือลดความเร็ว
ถามแค่ 3 ทำไมเท่านี้ ก็ได้สาเหตุที่แท้จริงของปัญหาแล้วค่ะ นั่นก็คือ 'ไม่ชะลอหรือลดความเร็วของรถขณะขับผ่านหลุมหรือเนิน' นั่นเอง
ต่อไปนี้...บอลก็ต้องเปลี่ยน #วิธีการ ขับรถค่ะ
คือ ต้องชะลอหรือลดความเร็วเมื่อขับผ่านหลุมหรือเนิน ถ้าไม่อย่างนั้นแล้วก็จะเกิด #ปัญหาซ้ำซาก นั่นก็คือ #โช๊คแตก ซ้ำแล้วซ้ำอีกไม่รู้จบ
คือ ต้องชะลอหรือลดความเร็วเมื่อขับผ่านหลุมหรือเนิน ถ้าไม่อย่างนั้นแล้วก็จะเกิด #ปัญหาซ้ำซาก นั่นก็คือ #โช๊คแตก ซ้ำแล้วซ้ำอีกไม่รู้จบ
ท้ายที่สุดแล้วอยากจะบอกว่าไม่ว่าปัญหาใดๆ เราก็สามารถนำเอา 4M1E และเทคนิค Why - Why มาใช้ในการวิเคราะห์หาสาเหตุที่แท้จริงของปัญหาได้ค่ะ และอยากจะฝากเอาไว้ว่า ถ้าสาเหตุมาจาก Man ให้แก้ที่ Method หรือ วิธีการ
ไม่อย่างนั้นแล้วเราจะเจอวิธีการแก้ปัญหาแบบที่ว่า #พนักงานขาดทักษะ #พนักงานขาดความระมัดระวัง แล้วแก้ไขปัญหาโดยการ Re-fresh/Re-train หรือ #ว่ากล่าวตักเตือน แล้วปัญหาก็กลับมาเกิดซ้ำอีก เพราะไม่ได้แก้ไขที่ #วิธีการทำงาน
พนักงานก็คนนะคะ ไม่มีคนคนไหนตื่นเช้ามาแล้วมาทำงานด้วยความคิดที่ว่า
วันนี้ฉันจะทำงานเสียกี่ชิ้นดี
ไม่มีใครอยากทำผิดตั้งแต่ต้นค่ะ
ดังนั้นถ้าจะแก้ไขปัญหาเรื่องการทำงานผิดพลาด ให้แก้ไขที่ #วิธีการทำงาน ค่ะ
ดังนั้นถ้าจะแก้ไขปัญหาเรื่องการทำงานผิดพลาด ให้แก้ไขที่ #วิธีการทำงาน ค่ะ
Bad result comes from bad process.
In the other hand, good result comes from good process
กระบวนการดีผลลัพธ์จึงออกมาดีค่ะ
และ YouTube channel 🎦 https://www.youtube.com/channel/UCUlA0PYbL7ciD460dTkdorg
ด้วยรัก
Dr.Lean - หมอลีน
Dr.Lean - หมอลีน
No comments: