เมื่อ Kaizen ประทะ SXS ฝ่ายไหนจะชนะ? | Dr. Lean - หมอลีน Executive


เชื่อว่าหลาย ๆ บริษัทจะมีการจัดประกวดแข่งขันโปรเจ็คดีเด่นแห่งปี แห่งไตรมาส รวมไปถึงแห่งแต่ละเดือนด้วย ซึ่งจะมีโปรเจคที่มาจากทุกๆแผนกทั่วทั้งองค์กร มีทั้ง Kaizen และ SXS (Six Sigma) แต่พอแข่งทีไร SXS มักจะได้รางวัลชนะเลิศไปครอง


แล้วเป็นเรื่องจริงหรือที่ Kaizen จะไม่มีทางชนะ SXS ได้? คลิปนี้จะมาอธิบายให้ฟังค่ะ


ข้อที่ 1 คือ ไม่ว่าจะเป็น Kaizen หรือ SXS ก็เป็นโปรเจคที่ใช้ในการปรับปรุงงานด้วยกันทั้งนั้น

แตกต่างกันเพียงเครื่องมือที่ใช้เท่านั้น

ข้อที่ 2 คือ ควรแยกประเภทของโปรเจ็คที่แบ่งโดยกลุ่มคนทำและลักษณะของโปรเจ็คนั้นๆ ไม่ใช่ All-in-one

ข้อที่ 3 คือ มีเกณฑ์การตัดสินที่ครอบคลุมกระบวนการแก้ปัญหาตามหลัก PDCA ไม่ใช่พิจารณาแค่การใช้เครื่องมือที่ยากหรือซับซ้อน และผลลัพธ์ที่ได้จากโปรเจ็คนั้น ๆ เท่านั้น


ยกตัวอย่างการแบ่งประเภทของโปรเจค Kaizen ที่ ส.ส.ท. ทำ จะแบ่งออกตามลักษณะและกลุ่มคนที่ทำ ดังนี้

✅ KSS หรือ Kaizen Suggestion System เป็น Kaizen ที่ทำได้ง่าย ทำได้เลย ทำได้ด้วยตัวเอง ดังนั้นจึงเป็นการส่งผลงานเดี่ยว

✅ Genba Kaizen เป็น Kaizen ที่ทำเป็นกลุ่มในพื้นที่ทำงานเดียวกันรวมถึงมีการประดิษฐ์เล็กน้อย

✅ Automation Kaizen เป็น Kaizen ที่ปรับปรุงโดยเปลี่ยนการทำงานแบบ Manual เป็น Automation โดยมีการประดิษฐ์ทั้งระบบ 

✅ Project Kaizen เป็น Kaizen ที่ทำเป็นกลุ่มจากคนที่มาต่างแผนกกัน และการปรับปรุงที่มีความซับซ้อน

✅ Office Kaizen เป็น Kaizen ที่มาจากหน่วยงานสนับสนุน เช่น HR, Accounting, Finance, Logistics and Warehouse, IT, PC , Purchase เป็นต้น


ส่วนเกณฑ์การให้คะแนนที่ใช้จะเป็นไปตาม PDCA ดังนี้

👉 Problem-solving process หรือกระบวนการในการแก้ไขปัญหา ได้แก่ ที่มีของปัญหา การค้นหาข้อเท็จจริง การวิเคราะห์หาสาเหตุ คิดค้นวิธีการแก้ไข ติดตามผล และปรับแก้วิธีการ จนทำให้เป็นมาตรฐาน

👉 Trouble shooting mode หรือวิธีการแก้ไขปัญหา แบ่งออกเป็น 3 ระดับ เป็นตัววัด คุณภาพของวิธีการแก้ไขปัญหา ที่จะทำให้ปัญหานั้น 1. ไม่เกิด 2. ยากที่จะเกิด และ 3. เมื่อเกิด ก็ยังสามารถดักจับได้

👉 Creativity and initiative idea หรือความคิดสร้างสรรค์ เป็นการคิดใหม่ทำใหม่ หรือต่อยอดความคิด

👉 Result หรือผลลัพธ์ที่ได้จากโปรเจคนี้ แบ่งเป็น 3 ส่วน 1. ต่อตัวเอง 2. ต่อองค์กร และ 3. ต่อสังคม

ผลลัพธ์ที่ส่งผลต่อตัวเองสำคัญที่สุด เพราะเชื่อมโยงกับมูลเหตุจูงใจในการทำโปรเจคนี้ว่า ทำไมเราถึงทำ?

และ Kaizen คำว่า 改 (Kai) คือ การเปลี่ยนแปลงเริ่มต้นที่ตัวเราและเพื่อตัวเราเอง เป็นผลงานของตัวเอง และส่งผลประโยชน์ให้องค์กรเป็นต่อที่ 2 และสังคมเป็นต่อที่ 3


ท้ายที่สุดแล้ว อย่าลืมวัตถุประสงค์ของการจัดประกวดแข่งขันมีขึ้นเพื่อให้เป็น Healthy competition คือ

1. จูงใจพนักงานให้อยากทำ Kaizen

2. แข่งขันเพื่อยกระดับศักยภาพของตัวพนักงานและองค์กร

เวลาที่แข่งขันจะเห็นทีมอื่นๆ เตรียมตัวมาอย่างดี ทำโปรเจ็คได้ว้าวมาก แล้วเก็บเอาสิ่งเหล่านี้ไปปรับปรุงโปรเจคของตัวเอง ปีหน้ากลับมาแข่งขันใหม่พร้อมกับปรับปรุงตัวเองมาแล้ว Upgrade กันมาแล้วพร้อมจัดเต็ม บรรยากาศเหล่านี้เมื่อเกิดขึ้นเรื่อยๆ จะทำให้ศักยภาพของคนในองค์กรเก่งขึ้นเรื่อยๆ โตขึ้นเรื่อยๆ และส่งผลต่อศักยภาพขององค์กรโดยตรง ทำให้องค์กรเก่งขึ้นเรื่อยๆ และโตขึ้นเรื่อยๆ ตามศักยภาพของคนในองค์กรนั่นเอง


ดังนั้นไม่ว่าจะเป็น Kaizen หรือ SXS หากมีการแบ่งประเภทของโปรเจคและกำหนดเกณฑ์การให้คะแนนอย่างชัดเจนแล้ว การประกวดแข่งขันจะสนุกและสร้างสีสันเพิ่มแรงบันดาลใจ ให้กับพนักงานแน่นอนค่ะ

เรียกได้ว่าเป็น “มวยถูกรุ่น ชกถูกคู่ จะมุมแดงหรือน้ำเงินเป็น Kaizen หรือ SXS ก็ปะทะกันได้แน่นอนค่ะ”


พัฒนาคนก่อนพัฒนางาน กับ Dr. Lean - หมอลีน


ติดตามชมได้ในคลิป => https://youtu.be/vlvFe-ldX98


ด้วยรัก

Dr. Lean - หมอลีน


ติดตามได้ที่ YouTube channel 🎦 https://www.youtube.com/channel/UCUlA0PYbL7ciD460dTkdorg 

หรือที่เพจ Dr. Lean - หมอลีน ➡️ https://facebook.com/drleanmolean

No comments:

Powered by Blogger.