คุณภาพของวิธีการแก้ไขปัญหา 3 ระดับ | Dr. Lean - หมอลีน New Gen


จะรู้ได้อย่างไรว่าไอเดียที่คิดขึ้นมาแก้ปัญหานั้นมีคุณภาพขนาดไหนวัดได้จาก…แก้ปัญหาได้ที่ตรงจุดไหน


คือ ต้นเหตุ หรือ ปลายเหตุ และคุณภาพของวิธีการแก้ไขปัญหาเป็น 1 ในหัวข้อที่ใช้ในการประเมินคุณภาพของไคเซ็น


Trouble shooting mode หรือวิธีการแก้ไขปัญหา แบ่งออกเป็น 3 ระดับ เป็นตัววัด คุณภาพของวิธีการแก้ไขปัญหา ที่จะทำให้ปัญหานั้น 1. ไม่เกิด 2. ยากที่จะเกิด และ 3. เมื่อเกิด ก็ยังสามารถดักจับได้


1. ไม่เกิด โดย การกำจัดปัญหาที่สาเหตุของปัญหา เช่น โทรศัพท์มือถือ เมื่อก่อนจะเปลี่ยน SIM card ต้องปิดเครื่อง ถอดแบตเตอรี่ เดี๋ยวนี้เปลี่ยน design มาไว้ถาดด้านข้าง ไม่ต้องปิดเครื่องอีกต่อไป เป็นการทำให้ไม่เกิดปัญหานี้อีกเลย

2. ยากที่จะเกิด โดย การปรับแก้ไข input factors บางอย่าง ให้ occurrence หรือ โอกาสในการเกิดลดลง

เช่น แบตเตอรี่มือถือจำนวนประจุน้อยต้องชาร์จบ่อยแล้วทำให้แบตเสื่อมต้องเปลี่ยนใหม่ เดี๋ยวนี้เพิ่มประจุเป็นแบตขนาดใหญ่ขึ้น ชาร์จครั้งนึงใช้งานได้ 1- 2 วัน ทำให้แบตเตอรี่เสื่อมช้า อายุการใช้งานนานขึ้น ใช้เวลา 3-4 ปีถึงจะเสื่อมสภาพ

3. เมื่อเกิด โดย สามารถดักจับปัญหาได้ เป็นการปรับปรุงแก้ไขด้าน Detection เพื่อไม่ได้ปัญหาหลุดไปยังลูกค้า และดักจับปัญหาได้เร็วขึ้นเป็นการลดปริมาณปัญหาอีกด้วย เช่น แบตเตอรี่ของโทรศัพท์มือถือจะหมดก็จะมีการแจ้งเตือนว่าแบตเตอรี่เหลือน้อยตั้งแต่ที่ 20% ต้องทำการชาร์จแล้วนะ แจ้งเตือนอีกครั้งว่าเหลือน้อยมากเข้าขั้นวิกฤติที่ 10% และเมื่อเหลือ 5% ก็จะตัดเข้าสู่โหมดประหยัดพลังงานแบบอัตโนมัติเลย


ถ้าแก้ปัญหาที่ต้นเหตุได้ก็จะทำให้ไม่เกิดปัญหานั้นอีกเลย ในทางกลับกันถ้าหาวิธีการแก้ปัญหาที่ต้นเหตุไม่ได้แต่เมื่อเกิดปัญหาก็ยังสามารถดักจับปัญหาได้ ก็ถือว่ายังช่วยลดปริมาณปัญหาไม่ให้เกิดขึ้นเยอะและไม่หลุดไปหาลูกค้า ซึ่งดีกว่าไม่ทำอะไรเลย 


ดังนั้นคุณภาพของวิธีการแก้ปัญหาก็ตรงกับคำกล่าวของ Dr. Deming ที่ว่า “Quality comes not from inspection, but from improvement of the process” 


ติดตามชมได้ในคลิป => https://youtu.be/P7-g_yvwd1c


ด้วยรัก

Dr. Lean - หมอลีน


ติดตามได้ที่ YouTube channel 🎦 https://www.youtube.com/channel/UCUlA0PYbL7ciD460dTkdorg 

หรือที่เพจ Dr. Lean - หมอลีน ➡️ https://facebook.com/drleanmolean

No comments:

Powered by Blogger.