Lean habits | EP.31 – เริ่มต้นทำลีนอย่างไรให้สำเร็จ (Begin again) | Dr. Lean – หมอลีน Executive

 Lean habits | EP.31 – เริ่มต้นทำลีนอย่างไรให้สำเร็จ (Begin again) | Dr. Lean – หมอลีน Executive


“เข้าเมืองตาหลิ่ว ต้องหลิ่วตาตาม” เป็นสุภาษิตคำพังเพยที่เราได้ยินมาตั้งแต่เด็ก 

ซึ่งมีความหมายว่า เมื่อไปอยู่ที่ไหน ก็ให้ปฏิบัติตนเข้ากับสภาวะแวดล้อมหรือสังคมที่เรากำลังอยู่


จากคลิปที่แล้วบอลได้พูดถึงการเปลี่ยนแปลงว่า “เปลี่ยนก่อนที่จะถูกสภาวะแวดล้อมบังคับให้เปลี่ยน”

นี่เป็นคำพูดสำหรับ leader ผู้ที่ก้าวนำหน้าคนอื่นก่อนหนึ่งก้าวเสมอ

แต่ในทางกลับกันสำหรับผู้ตามแล้ว จำเป็นที่จะต้องมีสภาพแวดล้อมและสถานการณ์บังคับให้เปลี่ยน

และเป็นหน้าที่ของผู้นำที่จะทำการสร้างสภาวะแวดล้อมแบบนั้น เพื่อให้องค์กรเกิดการเปลี่ยนแปลง


ใช้กระบวนการ PDCA เพื่อเริ่มต้นทำลีนอีกครั้ง

Plan ได้แก่ การใช้คำถาม 5W1H

Why ทำไมต้องทำลีน? องค์กรต้องการแก้ไขปัญหาอะไร?

How ทำลีนอย่างไร? ส่วนนี้เป็นเรื่องของกลยุทธ์ 

ถ้าเป็นหนังจีนกำลังภายในก็จะกล่าวว่า “สุดยอดกระบวนท่า คือไร้กระบวนท่า” 

หมายถึง ไม่มีกลยุทธ์ที่ดีที่สุด มีแต่กลยุทธ์ที่เหมาะสมที่สุดสำหรับองค์กรนั้นๆ 

What มีคำถาม What ด้วยกัน 3 ข้อ คือ 

1. อะไรคือค่านิยมขององค์กรและแปลงออกมาเป็นวิธีการที่ทำให้เกิดพฤติกรรมหมู่ 

ให้คนในองค์กรคิดพูดทำเหมือนกัน 

2. กระบวนการอะไรที่ต้องปรับปรุง

และ 3. ศักยภาพอะไรที่ต้องพัฒนาให้กับบุคลากรเพื่อให้สามารถทำการปรับปรุงกระบวนการได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Where เริ่มทำที่ไหน ไม่จำเป็นต้องทำแบบปูพรม ทำเป็น Model line สร้าง sense of achievement ให้กับทีมงานก่อน แล้วค่อยขยายผล

When ทำเมื่อไหร่ สร้าง Roadmap ของการ Deploy Lean ขึ้นมาเพื่อดำเนินการตามแผนนั้น

Who ทำโดยใคร อย่าลืมกฏ 262 เลือกคนที่ใช่มาทำลีนให้ประสบความสำเร็จก่อน


Do คือ การใช้ระบบมาขับเคลื่อนการทำลีน ได้แก่

1. Hoshin Kanri หรือ Policy Deployment เป็นการบริหารแบบ Top - Down

2. Daily Management System หรือ ระบบการบริหารประจำวัน เป็นการบริหารแบบ Bottom - Up


Check คือ การตรวจสอบผลลัพธ์ของการทำลีน สามารถใช้การประเมินผล เช่น

Balance score card, Lean assessment, KPI และ Financial index ที่ประเมินทั้งกระบวนการและผลลัพธ์ที่ได้


สุดท้ายคือ Act คือ ทำให้เป็นมาตรฐานและขยายผล เมื่อสามารถทำ Phase แรกได้ดีแล้ว

ก็ทำการขยายผลต่อโดยให้วิธีการแรกเป็นมาตรฐานแล้วทำตามมาตรฐานนี้ต่อไปเรื่อยๆ 

จนครบทุกพื้นที่ในองค์กร จนในที่สุดเป็นโรงงานลีนที่มีประสิทธิภาพ


สิ่งที่ยากในการบริหารจัดการเพื่อให้องค์กรสำเร็จนั่นคือ ‘คน’ 

ดังนั้นใส่ใจคนด้วยการ พัฒนาคน ก่อนพัฒนางาน


สุดท้ายการเปลี่ยนสภาพแวดล้อมเพื่อให้เกิดการปรับพฤติกรรมของคน

เปรียบเสมือนกับการเดินเรือผ่านทะเลที่มีมรสุม จึงจะสร้างนักเดินเรือที่เก่ง

หากทะเลไร้คือมรสุมก็ไม่สามารถสร้างนักเดินเรือที่เก่งได้

ดังนั้นเปลี่ยนจาก Learn to work มาเป็น Work to learn

ใช้สภาพแวดล้อมใหม่ นำพฤติกรรมที่ต้องการ


มาเริ่มต้นทำลีนกันใหม่ให้มีประสิทธิผลและคนมีประสิทธิภาพ 

Begin Lean journey again


ติดตามได้ในคลิปค่ะ https://youtu.be/m7Y66VCX6Wo


ด้วยรัก

Dr. Lean - หมอลีน

No comments:

Powered by Blogger.