วิธีสร้าง Problem Solving Skill กับหลัก 5G สำหรับคนทำงาน | Dr. Lean - หมอลีน Executive


เรา…ในฐานะคนทำงาน ทุกคนถูกจ้างมาเพื่อให้มาแก้ไขปัญหา

ดังนั้น Problem-solving skill หรือทักษะในการแก้ไขปัญหา

จึงสำคัญมากๆ สำหรับคนทำงานอย่างเราค่ะ 


แล้วจริงหรือไม่ที่ว่า “เมื่อปัญหามา ปัญญาก็เกิด”

ตอบ : ไม่จริง 


เมื่อปัญหามา ปัญญาจะเกิด ก็ต่อเมื่อทำการแก้ไขปัญหา

เมื่อปัญหามา ปัญญาจะไม่เกิด ถ้าไม่แก้ไขปัญหาหรือไม่ทำอะไรเลย




มาดูกราฟความสัมพันธ์ระหว่าง ความใส่ใจต่อปัญหา กับ ความรู้ในการแก้ไขปัญหา

ช่องที่ 1 ความใส่ใจต่อปัญหา ต่ำ กับ ความรู้ในการแก้ไขปัญหา ต่ำ 

ทำให้ไม่เกิดการแก้ปัญหา ปัญหาก็ยังคงอยู่และนั่นแหละคือปัญหา

ช่องที่ 2 ความใส่ใจต่อปัญหา สูง กับ ความรู้ในการแก้ไขปัญหา ต่ำ

ต้องใช้ อิทธิบาท 4 ได้แก่ ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา คือ หนทางสู่ความสำเร็จ

หรือ หนทางในการแก้ปัญหาได้สำเร็จ

เริ่มต้นจาก ฉันทะ คือ ความอยากที่จะแก้ปัญหา

วิริยะ คือ ความพยายามที่จะแก้ปัญหา

จิตตะ คือ ความเอาใจใส่ต่อแก้ปัญหา

วิมังสา คือ ความไตร่ตรอง ทดลองแก้ปัญหา


ซึ่งรวมกันเป็น 3G หรือ 3 Gen 3 จริง ได้แก่ Genba, Genbutsu, Genjitsu หรือ สถานที่จริง ของจริง และสถานการณ์จริง เป็นการเฝ้าสังเกต สืบค้น ค้นคว้าวิจัย ทดลอง จนทำให้พบข้อเท็จจริง 

ข้อเท็จจริงอะไรบางอย่าง ที่ทำให้เกิด ‘ความรู้ในการแก้ปัญหา’ 

ถ้าเป็นภาษาการตลาดเรียกว่า Aha moment 

แต่ในฐานะที่เราเป็นวิศวกร เป็นนักวิทยาศาสตร์ เราจะเกิดยูเรก้า Eureka! moment 

ในช่องนี้ คือ ช่องที่ 3 ความใส่ใจต่อปัญหา สูง กับ ความรู้ในการแก้ไขปัญหา สูง


ความรู้ในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นนี้ คือ Genri หมายถึง ทฤษฎีจริงหรือหลักการจริง 

ซึ่งไม่ว่าจะทำซ้ำๆ อีกกี่ครั้งก็จะได้ผลลัพธ์แบบเดิมทุกครั้ง

แล้วนำไปสู่การสร้างมาตรฐานการทำงาน ที่เป็นเงื่อนไขที่เหมาะสมที่สุด ที่จะทำให้เกิดผลลัพธ์ตามที่ต้องการมากที่สุด และเป็นวิธีการปฏิบัติงานเป็นคู่มือที่เขียนอยู่ใน WI ซึ่งก็คือ Gensoku หรือ Know-How

เป็นช่องสุดท้าย ช่องที่ 4 ความใส่ใจต่อปัญหา ต่ำ กับ ความรู้ในการแก้ไขปัญหา สูง



แล้วเราจะสร้างทักษะการแก้ปัญหานี้ได้อย่างไร?

คำตอบอยู่ตอนต้นคลิปค่ะ คือ เมื่อปัญหามา ถ้าแก้ไข ปัญญาก็จะเกิด

ดังนั้นหาปัญหามาให้แก้ ถ้าไม่มีปัญหา ก็สร้างปัญหาขึ้นมา

เพราะความเครียดในงาน = ความยากของงาน

ส่วนปัญญา = ความสามารถ

หากปัญญามาก ปัญหาไม่ยาก ความเครียดก็จะน้อย

ในทางกลับกัน หากปัญญาน้อย ปัญหายาก ความเครียดก็จะมาก

ฉะนั้น เพื่อไม่ให้เครียด จึงต้องสร้างความสามารถ สร้างปัญญาให้มากๆ 

เพราะ เราลดความยากของปัญหาไม่ได้


อย่างโตโยต้า เวลาอะไหล่พัง เครื่องจักรพัง เค้าจะไม่ให้ซื้อใหม่

แต่จะให้ซ่อม เพราะการซ่อมจะทำให้เกิดการเรียนรู้ผ่าน 3 Gen 

คือ สถานที่จริง ของจริง และสถานการณ์จริง แล้วทำให้เกิดความรู้เป็น

หลักการจริงและเงื่อนไขจริงจนครบทั้ง 5 Gen

เป็นกระบวนการสร้างทักษะการแก้ไขปัญหาให้กับพนักงานค่ะ

เห็นมั้ยคะ แค่เปลี่ยนจาก ซื้อ เป็น ซ่อม ก็สร้าง Problem Solving Skill ได้ครบทั้ง 5 Gen


หลัก 5 Gen Power of Genba

Genba สถานที่จริง

Genbutsu ของจริง

Genjitsu สถานการณ์จริง

Genri หลักการหรือทฤษฎีจริง

Gensoku เงื่อนไขจริง


พัฒนาคน ก่อนพัฒนางาน


ติดตามชมได้ในคลิป => https://youtu.be/prFJIgTH9ho


ด้วยรัก

Dr. Lean - หมอลีน


ติดตามได้ที่ YouTube channel 🎦 https://www.youtube.com/channel/UCUlA0PYbL7ciD460dTkdorg 

หรือที่เพจ Dr. Lean - หมอลีน ➡️ https://facebook.com/drleanmolean

No comments:

Powered by Blogger.